วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายที่ประชาชนควรรู้
กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ในการดำเนินชีวิตประจำวันประชาชนทั่วไปจะต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างเลี่ยงไม่ได้ดังนั้นประชาชนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายอย่างที่ควรทราบเพื่ออำนวยความสะดวกและรักษาสิทธิตลอดจนผลประโยชน์ที่ประชาชนควรจะได้รับ ขอแนะนำข้อกฎหมายที่ประชาชนควรทราบดังนี้
1. การทะเบียนราษฎร์
บุตรเกิด ถ้าเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าเกิดนอกบ้าน ให้มารดาแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
ชื่อบุตร ให้เจ้าบ้าน บิดา หรือมารดาแล้วแต่กรณี แจ้งชื่อบุตรพร้อมกับการแจ้งเกิด ถ้าจะเปลี่ยนชื่อให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันแจ้งชื่อครั้งแรก ย้ายบ้าน ให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจแจ้งออกจากบ้านเดิมภายใน 15 วัน และเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้งภายใน 15 วันเช่นกัน คนตาย ถ้าในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่พบศพเป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ช.ม. นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ แจ้งที่ไหน กรณีบุตรเกิด ตั้งชื่อบุตร ย้ายบ้านหรือคนตาย ให้แจ้งดังนี้

ในเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักงานท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล นอกเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือสำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง (เช่น เขตกรมทหาร) ความผิด
ถ้าไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ถ้าไม่แจ้งการตายภายในเวลามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

    2. บัตรประจำตัวประชาชน 
คนไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์ บัตรประจำตัวประชาชนชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ)
อายุของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
ความผิด
ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
ผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตรโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
 
   3. การรับราชการทหาร
กำหนดเวลาแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกิน ชายไทยอายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในเดือนพฤศจิายนของปีที่อายุย่างเข้า 18 ปี สถานที่แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินคือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหาร

   4. การรักษาความสะอาด
ห้ามขีดเขียน วาดรูปวาดภาพบนรั้วผนังอาคาร ต้นไม้ หรือสิ่งใดใสที่สาธารณะ หรือเห็นได้จากที่สาธารณะนั้น ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท ห้ามติดตั้ง ตาก วางหรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะหรือมองเห็นได้จากที่สาธารณะโดยไม่บังควรหรือทำให้มองดูแล้วไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ 200 บาท ห้ามบ้วน สั่งหรือถ่มน้ำลาย น้ำมูก น้ำหมาก เสมหะหรือทิ้งสิ่งใดๆ ลงบนท้องถนน พื้นรถ หรือเรือสาธารณะ โรงมหรสพ ร้านค้า หรือที่สาธารณะ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
 5. การเรี่ยไร
ผู้ทำการเรี่ยไร ต้องมีใบอนุญาตให้ทำการเรี่ยไรติดตัวและต้องออกใบรับให้ผู้บริจาค

   6. หนังสือมอบอำนาจ
การมอบอำนาจเป็นการตั้งตัวแทนเพื่อทำการสำหรับการมอบอำนาจให้กระทำการเกี่ยวกับที่ดินเป็นเรื่อง
สำคัญควรใช้หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน

                                                                        7. เอกเทศสัญญา
กู้ยืม การกู้ยืมเงินกันเกินกว่าห้าสิบบาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงและต้องลงลายมือชื่อผู้กู้ด้วย กฎหมายให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 บาทต่อปี
การจำนอง คือการกู้ยืมโดยมีทรัพย์สิน เป็นประกันโดยทั่วไปได้แก่ ที่ดิน บ้านพร้อมที่ดิน เรือยนต์ (5 ตันขึ้นไป) สัตว์พาหนะ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ความ หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะกาล โดยทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้จำนอง การจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์เว้นแต่เช่าซื้อเครื่องมือการเกษตรไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ เช่าทรัพย์ เช่าบ้านหรือที่ดินไม่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหลักฐาน
เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าแล้ผู้ให้เช่า หากเกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

 8. กฎหมายที่ดิน
เมื่อโฉนดใบจองหรือ นส.3 ชำรุด สูญหายหรือเป็นอันตรายต้องติดต่ออำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน เพื่อขอออกใบใหม่หรือใบแทน
มิฉะนั้นผู้อื่นที่ได้หนังสือสำคัญไปอาจนำไปอ้างสิทธิ ทำให้เจ้าของเดิมเสียประโยชน์ได้
ที่ดินมือเปล่า เจ้าของควรดูแลรักษาให้ดี อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า หากมีผู้ครอบครองก็หาทางไล่ออกไปเสีย
 มิฉะนั้นเจ้าของจะเสียสิทธิไป นอกจากนี้ หากไม่ ส.ค.1 ก็ควรหาทางขอ นส.3 แล้วต่อไปก็ขอให้มีโฉนดเสียให้เรียบร้อยเพราะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นและปลอดภัยจากการเสียสิทธิมากขึ้น
ที่ดินมีโฉนด อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างหรือให้คนอื่นครอบครองไว้นานๆ อาจเสียสิทธิได้เช่นกัน
การทำนิติกรรม ต้องทำให้สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยทำที่อำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน
 
    9. อาวุธปืน
ผู้ที่ประสงค์จะขอมีอาวุธปืน เพื่อใช้หรือเก็บไว้ป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน ให้ยื่นคำร้องขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้บังคับการกองทะเบียนกรมตำรวจ จังหวัดอื่นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่จังหวัด การแจ้งย้ายอาวุธปืน เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนย้ายภูมิลำเนา ต้องแจ้งย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียน ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย การรับมรดกปืน เป็นหน้าที่ของทายาทหรือผู้ครอบครอง ต้องไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ ภาใน 30 วัน นับตั้งแต่วันทราบการตายและยื่นคำร้องขอรับมรดกอาวุธปืนนั้นต่อไป ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดอ่านไม่ออก ให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบเหตุ อาวุธปืนหายหรือถูกทำลาย ให้เจ้าของแจ้งเหตุพร้อมด้วยหลักฐานและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนอยู่หรือนายทะเบียนท้องที่ที่เกิดเหตุ ภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบเหตุ *ความผิดและโทษของอาวุธปืน มีและพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี ปละปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท
พกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พก เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดพกพาอาวุธปืนไปโดยเปิกเผย หรือพาไปที่ชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี
 และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทแม้ว่าผู้นั้นจะได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืนหรือกรณีเร่งด่วนก็ตาม
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ดิน


"ที่ดิน" เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างมาก เพราะที่ดินเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการดำเนินชีวิตของสังคมเราที่ขาดเสียไม่ได้ เป็นรากฐานของบ้านเรื่อนที่อยู่อาศัยของชาวบ้านประชาชนโดยทั่วไป ไม่ว่าจะอยู่ในเขตต่างจังหวัด หรือในเขตมหานคร และที่ดินยังเป็นฐานในการผลิตปัจจัยสำคัญในเรื่องของอาหารให้กับคนเราอีกด้วย ดังนั้นที่ดินจึงมีความสำคัญ และได้กลายไปเป็นทรัพย์สินที่มีค่าสำหรับประชาชน ปัจจุบันประชาชกรในประเทศของเรา ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะขึ้นไปเรื่อยๆ ประกอบกับ
เศรษฐกิจของประเทศก็เจริญเติบโตไปตามยุคสมัย จนเราแทบจะปรับตัวตามไม่ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงที่ได้เกิด แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้น ก็คือ ความต้องการในการใช้ที่ดินที่มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่ในขณะเดียวกัน จำนวนของที่ดินกลับมีจำนวนที่จำกัด และกระจุกตัวอยู่กับคนบางกลุ่มบางพวก ดังนั้นการแย่งชิง การบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินสาธารณะจึงได้เกิดมีขึ้นอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ซึ่งรวมไปถึงปัญหาของการบุกรุกป่าของชาวบ้านเพื่อจะเข้าไปทำประโยชน์ตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ จึงมีมากเพิ่มตามไปด้วย
ปัจจุบันกฎหมายที่ดิน ได้เข้ามามีบทบาทในการเข้ามาควบคุม และยังเป็นหลักเกณฑ์ในการได้มาซึ่งที่ดินของชาวบ้านตามกฎหมาย ซึ่งต้องเป็นไปตามระเบียบ ขั้นตอน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แทบทั้งสิ้น ทำให้ปัจจุบัน การได้มาของที่ดินของชาวบ้านและประชาชน จึงเป็นการได้มาโดยการซื้อขายเปลี่ยนมือกันต่อๆ มา รวมทั้งการได้รับมาโดยการตกทอดเป็นมรดกจากพ่อสู่ลูก เป็นส่วนใหญ่
“ที่ดิน” ตามภาษาชาวบ้านนั้น เป็นที่เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า คือ พื้นดินทั่วไป แต่ในความหมายของกฎหมายที่ดินนั้น “ที่ดิน” มีความหมายกว้างกว่าตามความหมายธรรมดาของชาวบ้าน โดยตามกฎหมายที่ดินนั้น รวมไปถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเล ด้วยนะครับ...


เอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน

"ที่ดิน" เป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งของชาติ ในสมัยโบราณนับตั้งแต่สมัยสุโขทัย ที่ดินทั้งหมดเป็นของพระ
เจ้าแผ่นดิน ต่อมาก็ได้มีการอนุญาตให้ประชาชนได้เข้าครอบครองทำกินเรื่อยมา จวบจนมาถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนการถือครองที่ดินของชาวบ้านเรื่อยมา จากเดิมที่ถือว่า ที่ดินเป็นของพระเจ้าแผ่นดินทั้งหมด สุดท้ายก็ได้ปรับเปลี่ยนมาในลักษณะที่ชาวบ้านสามารถเข้าครอบครองทำกิน จวบจนปัจจุบันชาวบ้านประชาชนก็สามารถกลับกลายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้
ปัจจุบันหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับที่ดิน ได้ออกเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินให้กับประชาชนผู้ครอบครองที่ดินทำกิน เพื่อเอาไว้แสดงเป็นหลักฐาน ในส่วนของขอบเขต ทิศ ลักษณะ พร้อมทั้งแสดงความเป็นเจ้าของๆ ที่ดินผืนนั้นๆ อันมีมาแต่เดิม ทั้งนี้เอกสารสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินที่
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน หรือ ส.ค.1 ออกให้กับราษฎรซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน อยู่ก่อนที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ซึ่งราษฎรได้ไปแจ้งการครอบครองเอาไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. ใบจอง หรือ น.ส.2 เป็นหนังสือสำคัญที่ออกให้แก่ราษฎร เพื่อแสดงการยอมให้ราษฎรเข้าครอบครอง
ที่ดินได้ชั่วคราว
3. ใบเหยียบย่ำ เป็นหนังสือสำคัญที่อนุญาตให้ราษฎรเข้าจับจองที่ดิน เพื่อให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินรก
ร้างว่างเปล่า โดยใบอนุญาตนี้ มี 2 ชนิด คือ
     - ใบเหยียบย่ำ คือ ใบอนุญาตให้ราษฎรจับจองที่ดิน ซึ่งนายอำเภอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจใน
การออกใบเหยียบย่ำ มีระยะเวลาให้ราษฎรที่ได้รับอนุญาตเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จ ภายใน 2 ปี นับแต่
วันที่ได้รับใบเหยียบย่ำ
    - ตราจอง คือ ใบอนุญาตให้ราษฎรจับจองที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน เป็นผู้มีอำนาจในการออกใบ
อนุญาต มีระยะเวลาให้ราษฎรที่ได้รับอนุญาตเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จ ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบตราจอง
4. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือ น.ส.3 เป็นหนังสือสำคัญจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ราษฎรได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว ซึ่งที่ดินที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้ จะต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ ตามกฎหมาย
5. ใบไต่สวน หรือ น.ส.5 เป็นหนังสือสำคัญแสดงการสอบสวน เพื่อออกโฉนดที่ดิน ในที่นี้หมายความรวมถึงใบนำ ด้วย
6. โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.4 คือหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน


การทำสัญญาซื้อขายที่ดิน

การซื้อขาย เป็นกิจกรรมที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า ซึ่งเริ่มแรกเดิมที่นั้น ก็เป็นเพียงกิจกรรมการแลก
เปลี่ยนสิ่งของที่จำเป็นต่อกันธรรมดาๆ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาสื่อกลางในการทำการซื้อการขาย ซึ่งหากจะรู้ว่าเรื่องราวจากอดีตมาถึงปัจจุบันนั้น เรื่องราวรายละเอียดเป็นมาอย่างไร ก็ลองๆ ไปสอบถามเอากับผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ผ่านประสบการณ์เหล่านั้นมา และนั้นก็คงจะยากเต็มที เพราะว่าท่านที่ว่าไม่คอยนานอย่างนั้นหรอก (ตามอายุขัย) ทางที่ดีก็เปิดหนังสือตำราตามห้องสมุดต่างๆ เป็นดีที่สุดละครับ
เมื่อเรื่องของการซื้อขายมีมานมนานแล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ชาวบ้านโดยทั่วไปจะเข้าใจ โดยเฉพาะเรื่อง
ของการซื้อการขายในปัจจุบันนี้ ต้องทำกันอยู่ทุกวัน นับตั้งแต่ลูกเด็กเล็กแดงทั้งหลาย ที่มักจะร้องงอแงขอเงินไปซื้อขนมอยู่ทุกวัน และที่ว่ามารวมๆ กันนั้น ก็เป็นเรื่องของการซื้อขายโดยทั่วไป แต่ถ้าถามถึงการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ละ แบบนี้ก็เดาได้ไม่เลยว่า บางคนก็อาจจะรู้ บางคนก็คงส่ายหน้า ที่เป็นอย่างนี้ สาเหตุก็มาจากเรื่องของการใช้ภาษา เพราะภาษาที่ใช้เป็นภาษาทางการมากเกินไป แต่ถ้าเราบอกว่า "ซื้อขายที่ดิน" ทุกคนก็คงจะร้องอ๋อ และต่างก็ถึงบางอ้อทันที
"อสังหาริมทรัพย์" ถ้าไม่ลงรายละเอียดมากนัก เราก็จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับที่ดินเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อเราได้ยินคนพูดถึงเจ้าอสังหาริมทรัพย์ เราก็จะสามารถเข้าใจ และเห็นภาพได้ว่าเป็นเรื่องของที่ดิน การซื้อขาย ที่ดินในทางกฎหมายนั้น จะมีหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ซึ่งสำหรับชาวบ้านธรรมดาแล้ว ก็อาจจะรู้สึกเหมือนกันว่า เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก ทำให้ต้องเสียเวลาทำมาหากิน และสุดท้ายก็เลยแก้ปัญหาโดยการซื้อขายกันเอาเองเลย ก็แบบว่า เอาตังค์มา แล้วก็เอาที่ดินไปเลย แบบนี้ถ้าถามว่าใช้ได้หรือเปล่า ก็บอกได้ว่า ใช้ได้แบบชาวบ้านๆ (หากไม่มีปัญหาอะไรขึ้นมาเสียก่อน)
ที่นี้เรามาทำความเข้าใจ ในเรื่องของการ "ซื้อขายที่ดิน" ที่ถูกต้องตามกฎหมายกันก่อนดีกว่า ในที่นี้จะขอพูดถึงเรื่องของการซื้อขายที่ดินที่มีโฉนด หรือที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หรือใบไต่สวน โดยกฎหมายที่กำหนดเรื่องของการซื้อขายที่ดินเอาไว้ ก็จะเป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ซึ่งได้
กำหนดเรื่องนี้เอาไว้ว่า "การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นโมฆะ " จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว สามารถสรุปขั้นตอนการทำได้ว่า
1. ทำเป็นหนังสือ
2. นำหนังสือนั้นไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
3. หากไม่ทำตามข้อ 1. และข้อ 2. การซื้อขายก็จะตกเป็นโมฆะ
"การทำเป็นหนังสือ" นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีรูปแบบอย่างไร แต่ก็เข้าใจได้ว่า ก็คือหนังสือ
สัญญาซื้อขายที่ดินนั้นเอง ฉะนั้นแล้วการซื้อขายที่ดิน จึงต้องทำเป็นหนังสือหรือสัญญาขึ้นมาเสมอ ดังนั้นเราจะทำการซื้อขายด้วยวาจา อย่างนี้ก็คงไม่สามารถจะทำได้
"นำไปจดทะเบียน" ในส่วนนี้ก็เป็นการนำเอาสัญญาซื้อขาย ที่ได้ทำขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไปขอจด
ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
"พนักงานเจ้าหน้าที่" ในที่นี้ก็ คือ "เจ้าพนักงานที่ดิน"
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า "การซื้อขายที่ดิน" ผู้ซื้อและผู้ขายต้องทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นมา โดยผู้ซื้อ
ผู้ขายสามารถตกลงกันในเรื่องของราคา การจ่ายเงิน วันที่จะไปจดทะเบียนโอนที่ดิน และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนต่างๆ เสียให้เรียบร้อยเสียก่อน เมื่อได้ทำสัญญากันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำหนังสือสัญญาที่ได้ทำกันนั้น
ไปที่สำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมกับโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของที่ดินที่ต้องการจะทำการซื้อขายกันนั้น เพื่อขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนการซื้อขายให้
เมื่อได้ยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินก็จะตรวจสอบสัญญา และเอกสารต่างๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ และถ้าถูกต้อง ก็จะทำการจดทะเบียนสิทธิให้ โดยเจ้าหน้าที่จะแก้ไขรายการสารบาญแสดงกรรมสิทธิ์หลังโฉนด หรือหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพียงแค่นี้ก็เสร็จเรื่องแล้วครับ
ที่นี้เรามาต่อในส่วนของ "ที่ดินมือเปล่า" ซึ่งก็คือ ที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิใดๆ เลย แบบนี้จะทำการซื้อขายได้หรือเปล่า ซึ่งก็น่าสงสัยอยู่ คำตอบที่มีอยู่ ก็คือ สามารถทำการซื้อขายกันได้ครับ ที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ หรือที่เรียกว่าที่ดินมือเปล่านั้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีเอกสารในการแสดงสิทธิว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน แต่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินก็มีสิทธิตามกฎหมาย ในการที่จะเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ ซึ่งภาษากฎหมายเรียกว่า "สิทธิครอบครอง"              
ดังนั้นหากใครเป็นเจ้าของ และได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นจริง ก็จะมีสิทธิในที่ดินนั้น ที่จะเข้าไปทำมาหากิน จะเอาไปขาย หรือจะยกให้ใครก็ได้ ส่วนวิธีการซื้อขายนั้น ก็ทำกันอย่างง่ายๆ แบบชาวบ้านๆ ก็ได้ คือ "เอาตังค์มา  แล้วก็เอาที่ดินไป" แค่นี้ละครับ ง่ายดี

กฎหมายธุรกิจ

กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

สิทธิผู้บริโภค 5 ประการ      จากสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิ
 ของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า"สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
"

                  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง
 ตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้

                  1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการ
 แสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะ
 ไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

                  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการ
 ชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

                  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน
 เหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

                  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
                  5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
 ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว


ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร  

ข้อความ "หยุด" บนผิวทางจราจร
 เมื่อปรากฎข้อความอยู่ในช่องจราจรใด หมายความว่าให้ผุ้ขับรถในช่องจราจรนั้นปฏิบัติตามความหมายเช่นเดียวดับป้าย"หยุด"

รถที่ห้ามนำมาใช้ในทาง คือ
1.  รถที่มีสภาพที่ไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือ
 เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุดรถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด
 รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทาง ราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น
2.  รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรืเครื่องหมายอื่น ๆ
 ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อกับรถกำหนดอ
3.  รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
4.  รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราหรือรถที่ใช้ใน ราชการตำรวจ
5.  รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะน้อยกว่า 60 เมตร
6.  รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้าห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคน ขับด้วย)
7.  รถที่ได้เสียภาษีประจำปี
8.  รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง

ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.  ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถหรือเส้นหรือแนวที่ แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก
2.  ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละผ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
3.  ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบ ทางด้านซ้าย
 เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
4.  กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่วนทางขับผ่านมาก่อน
การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ให้ปฏิบัติดังนี้    
 ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจร
ของรถที่สวนมาหากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสนทางรถ
 ขับผ่านมาก่อน

ในดารขับรถผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถเว้นแต่กรณีต่อไปนี้
ที่ผู้ขับขี่สามารถขับล้ำกึ่งกลางขอทางเดินรถหรือขับเข้าไปในทางเดินรถด้านขวาได้
1.  ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร
2.  ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
3.  ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร

 กรณีที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป ผู้ขับขี่ที่ต้องขับรถชิดทางด้านซ้ายสุดคือ
1.  ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ที่ขับรถในทิศทางเดียวกัน
2.  ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ยกเว้น กรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางให้ขับรถในช่องทางเดินรถ
ด้าน ซ้ายสุดที่ติดกับช่องทางเดินรถประจำทาง

เมื่อผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือภูเขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ห้ามใช้เกียร์ว่าง
2.  ห้ามเหยียบคลัทซ์
3.  ห้าใช้เบรคตลอดเวลา
4.  ห้ามดับเครื่องยนต์
5.  ใช้เกียร์ต่ำ
6.  ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย
7.  ให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา 

ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด
ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย

การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกันและไม่ปรากฎสัญญา หรือเครื่องหมายจราจรผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นขับผ่านไปก่อน
2.  ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับผ่านไป ก่อน

ข้อกำหนดความเร็วของรถในกรณีปกติ มีการกำหนดอย่างไร
1.  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2.  นอกเขตตามข้อ 1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด
1.  ใบอนุญาตขับรถ
2.  สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ
การใช้ไฟสัญญาณและสัญญาณมือของผู้ขับขี่ กรณีที่ต้องการจะเลี้ยวรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร1.  สัญญาณไฟให้สัญญาณไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังในทิศทางที่จะเลี้ยว
2.  สัญญาณมือ 
     - เลี้ยวขวาให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอไหล่
     - เลี้ยวซ้ายให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอไหล่และงอมือชูขึ้นโบกไปทางซ้าย หลายครั้ง
3.  การให้สัญญาณตามข้อ 1 และ 2 ต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันอื่น
 เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร      ให้ผู้ขับขี่หยุดให้ทางแก่รถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวาและให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อนจึงจะเลียวซ้ายผ่านไปได้
 ในการเลี้ยวรถผู้ขับขี่จะต้องขับรถในช่องทางเดินรถที่ต้องการจะเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่ากี่เมตร
      30  เมตร
บริเวณใดห้ามกลับรถ
1.  ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมาหรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร
2.  ในเขตปลอดภัยหรือคับขัน
3.  บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
4.  บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้
5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ
บริเวณใดห้ามแซง
1.  ห้ามแซงด้านซ้าย เว้นแต่
     - รถที่ถูกแซมกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา
     -  ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่อทางเดินรถในทิศทางเดี่ยวกันตั้งแต่ 2 ช่อทางขึ้นไป
2.  ห้ามแซงเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ใกล้ทางโค้งเว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
3.  ห้ามแซมภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้าทางรถไฟ
4.  ห้ามแซมเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จะทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างได้ในระยะ 60 เมตร
5.  ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
6.  ห้ามแซมล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง
7.  ห้ามแซมในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ
ห้ามผู้ขับขี่รถในกรณีใด
1.  ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่น ภายหลังจากรับประทานยาแก้ไข้หวัดในขณะง่วงนอน
2.  ในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
3.  ในลักษณะกีดขวางการจราจร
4.  โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
5.  ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธีรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง
 ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสอง ด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
6.  คล่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องรถ เว้นแต่เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
7.  บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารกคนป่วย หรือคนพิการ
8.  โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
9.  ในขณะที่เสพ หรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน
 หรือวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่น (ยาบ้า)
10.ขับรถโดยที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ
11.ขับรถบนไหล่ทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร
12.ใช้ไฟฉุกเฉินขณะขับรถตรงไปเพื่อผ่านทางร่วมทางแยก
13.ขับรถแข่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร 
ในขณะที่ขับรถ ถ้าท่านเกิดอาการง่วงนอนควรปฏิบัติอย่างไร
จอดรถและพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อไป
ข้อห้ามของผู้ขับรถ
1.  ห้ามอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถขับรถของตน
2.  ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทำขึ้นเอง
3.  ห้าให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตขับรถของตน
4.  ห้ามใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
เมื่อผู้ขับขี่ต้องการจะจอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือสัญญาณไฟ (สัญญาณชะลอรถและยกเลี้ยว) ก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
2.  หยุดหรือจอดรถได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางการจราจร
3.  จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และขนานกับขอบทางหรือไหล่ทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร
 (เว้นแต่เป็นทางเดินรถทางเดียวและ เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดรถในทางเดินรถด้านขวาได้)
4.  ห้ามจอดในช่องทางเดินรถประจำทางในเวลาที่กำหนดให้เป็นช่องทางเดินรถประจำทาง
บริเวณใดห้ามจอดรถ
1.  บนทางเท้า
2.  บนสะดานหรือในอุโมงค์
3.  ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
4.  ในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ
6.  ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
7.  ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
8.  ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
9.  จอดรถซ้อนกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน (จอดรถซ้อนคัน)
10.บริเวณปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
11.ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจาปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง 2 ข้าง
12.ในที่คับขัน
13.ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงบริเวณที่ติดตั้งป้ายหยุดรถประจำทาง และเลยไปอีก 3 เมตร
14.ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
15.ในลักษณะกีดขวางการจราจร
16.จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถุสวนทางกัน
การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาด หรือชัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
จอดรถโดยหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
 ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถ หรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่อื่นสามารถเห็นรถที่จอดได้ชัดเจน
ไม่น้อยกว่าระยะ 150 เมตร ผู้ขับขี่ที่จอดรถจะต้องปฎิบัติอย่างไร
ผู้ขับขี่ที่จอดรถต้องเปิดไฟส่องสว่างโดยใช้โคมไปเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ
บริเวณใดห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ
1.  ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
2.  บนทางเท้า
3.  บนสะพานหรือในอุโมงค์
4.  ในทางร่วมทางแยก
5.  ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
6.  ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
7.  ในเขตปลอดภัย
8.  ในลักษณะกีดขงวางการจราจร
การให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  เมื่อจะลดความเร็วของรถให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
2.  เมื่อหยุดรถให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น
3.  เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลาย ครั้ง
4.  เมื่อจะเลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
5.  เมื่อจะเลี้ยวซ้าย หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบก ไปทางซ้ายหลายครั้ง
ผู้ขับขี่จะต้องใช้ไฟแสงสว่าง (ไฟหน้าและไฟท้าย)
 ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
การใช้เสียงสัญญาณของผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณอย่างไร
ใช้เสียงแตรที่ได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห้าใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า
 เสียงหลายเสียง หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะเมื่อจำเป็น
 หรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น และห้าใช้เสียงยาว หรือช้ำเกินควรแก่ความจำเป็น
การบรรทุกของผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ความกว้าง ได้ไม่เกินส่วนกว้างของรถ
2.  ความยาว
     -  ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ
     - ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร
3.  ความสูง  กรณีรถบรรทุกให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร แต่ถ้ารถมีความกว้างของรถเกินกว่า 2.30 เมตร ให้ บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
4.  ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันคน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่อน รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อให้ เกิดเหตุเดือนร้อน
 รำคาญทำให้สกปรกเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยหรือ
ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนหรือทรัพย์สิน
กรณีที่บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ในเวลากลางวันติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาง 45 เซนติเมตร
2.  ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนสนระยะ     150  เมตร
เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉินจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  หยุดรถ หรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ถ้ามีช่องทางเดินรถประจำทางให้หยุดชิดกับช่องทางเดินรถประจำทาง แต่ห้าม หยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
2.  ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร
ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง (รถเสีย) ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  นำรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
2.  ถ้าจำเป็นต้องจอดในทางเดินรถจะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรและแสดงเครื่องหมายดังนี้
     2.1  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ใช้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอัน สีแดง
หรือสีขาวที่ติดอยู่ด้านหน้าและท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (ไฟฉุกเฉิน)
          หรือติดตั้งป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ     
      2.2  นอกเขต 2.1 ให้แสดงเครื่องหมายป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I
      สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ โดยห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร    และให้สัญญาณไฟกระพริบ (ไฟฉุกเฉิน)
ในเวลาที่มองเห็นไม่ชัดเจรน แสงสว่างไม่เพียงพอและจอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโม ง
         
การลากจูงรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วียกหน้าหรือท้ายรถที่ถูกลากจูง
2.  การลากจูงรถที่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วิธีตามข้อ 1 หรือใช้สายพ่วงที่มีความยาวจากส่วนหน้าสุดของรถที่
 ถูกลากหรือจูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร
3.  ห้ามลากหรือจูงรถเกินกว่า 1 คัน