วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ความหมายกฎหมายแรงงาน


 "กฎหมายแรงงาน"  หมายถึง  ข้อบังคับที่รัฐได้กำหนดขึ้น เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง  เกี่ยวกับการจ้างและการทำงาน เกี่ยวกับองค์กรฝ่ายของนายจ้าง และองค์กรของฝ่ายลูกจ้าง เกี่ยวกับการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับสภาพของการจ้างงาน  การระงับข้อพิพาทปัญหาแรงงาน  การนัดหยุดงาน ปิดงาน งดจ้าง  ตลอดจนการกำหนดความคุ้มครองในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง  การจัดหางาน  การสงเคราะห์อาชีพ การส่งเสริมการทำงาน เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงานให้มีมากยิ่งขึ้น
   ในเรื่องของแรงงาน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าขาดซึ่งแรงงานแล้ว สังคมหรือประเทศก็คงไม่สามารถที่จะพัฒนาไปได้ แต่ว่า ถึงแม้แรงงานจะเป็นสิ่งที่สำคัญเพียงใด ในฐานะของผู้ใช้แรงงานก็มักจะตกเป็นเบี้ยล่าง ถูกกดขี่และถูกเอาเปรียบอยู่เสมอๆ  ทั้งนี้ก็อาจจะเป็นเพราะผู้ใช้แรงงานโดยส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด มีฐานะที่ค่อนข้างยากจนและยังขาดการศึกษาที่ดี  เป็นเหตุให้ผู้ใช้แรงงานไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของการเจรจาต่อรองกับผู้เป็นนายจ้างมากนัก  ดังนั้นแม้ว่าผู้ใช้แรงงานจะถูกเอาเปรียบมากขนาดไหน ก็ยังต้องก้มหน้ายอมปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างนั้น
เพราะหากขืนโต้แย้งขัดค้านขึ้นมาแล้ว ก็คงถูกหมายหัวเอาไว้ว่า ดื้อหัวแข็ง  สุดท้ายแล้วลูกจ้างคนนั้นอาจต้องตกงานเตะฝุ่นเอาง่ายๆ ได้เช่นกัน

   ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมบริการจัดการในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นทั้งสองฝ่าย โดยได้เข้ามาควบคุมจัดการในเรื่องที่สำคัญต่างๆ  เช่น  อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ผู้ใช้แรงงานควรได้  ตามสภาพของเศรษฐกิจและค่าครองชีพในขณะนั้นๆ  เกี่ยวกับระยะเวลาในการทำงาน  เกี่ยวกับข้อตกลงต่างเกี่ยวกับการจ้างงาน เป็นต้น โดยการจัดการในเรื่องดังกล่าว  รัฐได้เข้ามาจัดการในรูปของกฎหมาย เพื่อให้มีผลบังคับได้โดยทั่วไป

ที่มา http://www.chawbanlaw.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น