วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

กฎหมายยอาวุธปืน

กฎหมายยอาวุธปืน
  ความหมาย   อาวุธปืน หมายรวมตลอดถึง อาวุธทุกชนิด ซึ่งใช้เครื่องส่งกระสุนโดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของแก๊ส หรืออัดลม
 หรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญ และ ได้ระบุไว้ในกฏกระทรวง
    อาวุธปืนที่อนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง เพื่อ
    1. มีไว้ใช้
    2. มีไว้เพื่อเก็บ
    

 หลักการพิจารณาออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน           การพิจารณาออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัว
    และทรัพย์สิน ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้.
          ข้อ 1 คุณสมบัตติของผู้ขอมีและใช้อาวุธปืน ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่ขัดต่อมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ
    อาวุธปืนฯ คือ
    (1) บุคคลซื่งต้องโทษจำคุก สำหรับความผิดตามระมวลกฏหมายอาญาดังต่อไปนี้.
    ก. มาตรา 57 ถึงมาตรา111 มาตรา 120 มาตรา 177 ถึงมาตรา 183 มาตรา 249 มาตรา 250 หรือ
    มาตรา 298 ถึงมาตรา 303
    ข. มาตรา 254 ถึงมาตรา 257 และพ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษถึงวันที่ยื่นคำขออนุญาต เว้นแต่
    ในกรณีความผิดที่กระทำโดยความจำเป็น หรือเพื่อป้องกัน หรือโดยถูกยั่วโทษะ
    (2) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุก สำหรับความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืน
    วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง พุทธศักราช 2477 มาตรา 7 มาตรา 11 ถึงมาตรา 22 มาตรา 24 มาตรา 29
    มาตรา 33 หรือมาตรา38
    (3 ) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุก ตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป ในระหว่างห้าปีนับย้อนหลังขึ้นไปจากวันที่ยื่นคำขอสำหรับ
    ความผิดอย่างอื่น นอกจากบัญญัติไว้ใน (1)(2) เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดละหุโทษ
    (4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
    (5) บุคคลซึ่งไม่สามารถจะใช้ปืนได้โดยกายพิการ หรือทุพพลภาพ เว้นแต่จะมีไว้เพื่อเก็บตาม มาตรา 11 แห่ง
    พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
    (6) บุคคลซื่งเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือปรากฏว่าเป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
    (7) บุคคลซึ่งไม่มีอาชีพและรายได้
    (8) บุคคลซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
    (9) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน
    (10) ภูมิลำเนาของผู้ขอมีและใช้อาวุธปืนต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฏหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฏร
    และมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ที่บุคคลนั้นขออนุญาตไม่น้อยกว่าหกเดือน
        

 ข้อ2 การสอบสวนคุณสมบัติและความจำเป็น ต้องทำการสอบสวนพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่หรือสิ่งแวดล้อม
    ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2490 ข้อ 12
    และระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 47 บทที่ 3 ข้อ 16 ดังนี้
    (1) ผู้ขออนุญาตมีอายุเท่าใด เป็นหัวหน้าครอบครัว หรืออาศัยผู้ใดอยู่
    (2) บ้านอยู่ในที่เปลี่ยวหรือไม่ และในบ้านนั้นมีผู้ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนอย่างใดอยู่บ้างแล้วหรือไม่
    (3) บ้านที่อยู่เป็นนของผู้รับใบอนุญาตเอง หรือเช่าเขาอยู่
    (4) ความประพฤติตามปกติเป็นอย่างไร
    (5) เคยต้องโทษทางอาญาอย่างใดบ้างหรือไม่
    (6) เกี่ยวข้องกับพวกคนพาลหรือพวกนักเลงหรือไม่
    (7) มีหลักทรัพย์สมบัติอะไรบ้าง ประมาณราคามากน้อยเท่าใด
    (8) ประกอบอาชีพทางใด
    (9) การขอมีอาวุธปืน เพื่อประโยชน์อย่างใด
    (10) มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเงิน หรือทรัพย์สมบัติเป็นพิเศษอย่างใด
    (11) เคยถูกประทุษร้ายต่อทรัพย์และร่างกาย หรือถูกขู่เข็ญว่าจะทำร้ายอย่างใดบ้างหรือไม่
    (12) เป็นคนมีสติไม่ปกติเป็นบางครั้งคราวหรือไม่
    (13) เป็นคนมีนิสัยฉุนเฉียว หรือเกะกะระรานเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือผู้อื่นบ้างหรือไม่
    (14) เคยได้รับอนุญาตมีอาวุธปืนมาแล้วหรือเปล่า ถ้าเคยมีแล้ว เหตุใดจึงบขออนุญาตอีก
    (15) เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ใกล้ชิด เช่น สารวัตรตำรวจนครบาล ตำรวจภูธร หัวหน้าสถานี กำนันผู้ใหญ่บ้านเห็นสมควรอนุญาตหรือไม่
           (16) ถ้าเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องสอบให้ทราบว่า
            ก.มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยนานเท่าใด
            ข.พูดภาษาไทยได้หรือไม่
            ค. มีครอบครัวเป็นคนต่างด้าวหรือคนไทยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่
            ง. เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ลัทธิใดลัทธิหนึ่ง อันเป็นภัยต่อประเทศหรือไม่
           (17) ถ้าเป็นการขอรับมรดก ต้องสอบให้ได้ความว่าได้มีทายาทคนใดคัดค้านการขอรับโอนบ้างหรือไม่ หากมีการคัดค้านก็ให้ระงับการออกใบอนุญาตไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
      
  
ข้อ 3 การสอบสวนผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน เพื่อให้นายทะเบียนท้องที่ออกใบอนุญาตได้พิจารณากลั่นกรองที่จะอนุญาตให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืนได้ถูกต้อง ให้ดำเนินการดังนี้
             ก. ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้นายทะเบียนส่งเรื่องให้สารวัตรใหญ่หรือสารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่
             ดำเนินการดังนี้
    (1) พิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ขออนุญาตเพื่อตรวจสอบประวัติประกอบการพิจารณาด้วย เว้นแต่ผู้ขอเป็นข้าราชการประจำการไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบ
    (2) ทำการสอบสวนคุณสมบัติและเหตุผลความจำเป็น รายงานเสนอถึงผู้กำกับการตำรวจนครบาล เพื่อพิจารณาแล้วส่งเรื่องไปยังนายทะเบียนฯดำเนินการต่อไป
          การสอบสวนคุณสมบัติ และเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวข้างต้น ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสารวัตรใหญ่ หรือสารวัตรสถานีตำรวจท้องที่หรือผู้รักษาการแทนที่จะต้องดำเนินการโดยรอบคอบและตรงต่อความเป็นจริง
          ข. ในจังหวัดอื่นให้ถือปฏิบัติตามความคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2490 เรื่องระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
 พ.ศ. 2490 และคำสั่งที่ 759/2494 เรื่องระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ 2490 และคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 798/2501
 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายนน 2501 เรื่องการอนุญาตให้บุคคลมีอาวุธปืนและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาออกใบอนุญาตมีอาวุธปืน ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่ประจำจังหวัด
 และนายอำเภอเป็นนายทะเบียนท้องที่ประจำอำเภอ การสอบสวนผู้ขออนุญาตให้มีอาวุธเป็นเครื่องกระสุนปืน ก่อนที่จะพิจารณาอนุญาตตามความในข้อ 2 ด้วย



      ข้อ4 ชนิดและขนาดอาวุธปืน ซึ่งจะอนุญาตให้พิจารณาถึงฐานะ และความจำเป็นของผู้อนุญาตเป็นราย ๆ ไป โดยระลึกว่าการอนุญาตให้เอกชนมีอาวุธปืนนั้นเป็นการอนุญาตตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ 2490
 มาตรา 9 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีไว้เพื่อป้องกันตัวหรือทรัพย์สินหรือในการกีฬา หรือในการยิงสัตว์      การพิจารณาอนุญาตดังกล่าวข้างต้นนี้ มีหลักเกณฑ์ในการอนุญาตสำหรับชนิดและขนาดอาวุธปืนตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
ที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2490 ข้อ 13 และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ 0515/13548 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2515 ที่ 0313/ว8583 ลงวันที่ 25 กรกฏาคม 2517 และที่ 0515/ว686 ลงวันที่ 30 ธ.ค. 2517 ดังนี้
          ก. ถ้าผู้ขออนุญาตเป็นข้าราชการ ซึ่งมีหน้าที่ปราบปรามตามกฏหมาย หรือมีหน้าที่ ปฏิบัติงานเขตพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่หัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป รับรองหน้าที่การงานมาเป็นที่เชื่อถือได้
 หรือผู้ขออนุญาตเพื่อการกีฬาโดยมีหนังสือรับรองเป็นนักกีฬายิงปืน และมาฝึกซ้อมยิงปืนเป็นประจำจากเลขาธิการสมาคมยิงปืน หรือนายสนามยิงปืนนั้น ๆ ในการพิจารณาอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกให้อนุญาตขนาดลำกล้องไม่เกิน .45 หรือ 11 มม.ได้
          ข.สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีความจำเป็นต้องมีอาวุธปืนพก อนุญาตให้มีได้ลำกล้องไม่เกินขนาด .38 หรือ 9 มม.สำหรับบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่ขัดกับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490
 ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อกฏกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ตามที่ระบุไว้ในข้ออื่น ๆ ด้วย      สำหรับอาวุธปืนที่มีอานุภาพร้ายแรงแม้ขนาดลำกล้องไม่เกิน .38 หรือ 9 มม. เช่นอาวุธปืนขนาด .357
 ก็ไม่ควรอนุญาตเว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นข้าราชการตำรวจ ทหารหรือข้าราชการอื่นซึ่มีหน้าที่ปราบปรามตามกฏหมาย หรือเป็นข้าราชการในท้องที่กันดาร และผู้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
รับรองหน้าที่การงานมาเป็นที่เชื่อถือได้ก็ให้พิจารณาอนุญาตได้ สำหรับในต่างจังหวัดให้นายทะเบียนฯ เสนอขอรับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
       

  ข้อ 5 การอนุญาตให้มีอาวุธปืน ตามปกติควรมีได้เพียงคนละ 2 กระบอก คือ สั้นและยาว แต่ในการพิจารณาอนุญาตมากน้อยเพียงใดแล้วแต่หลักฐานความจำเป็นของแต่ละบุคคล
 และควรเข้มงวดกวดขันอย่าให้มีมากเกินความจำเป็นไม่ซ้ำขนาดกันให้วงเล็บวัตถุประสงค์มีและใช้อาวุธปืนในใบอนุญาต (ป.4) ให้ชัดเจน
        

 ข้อ 6 การพิจารณาอนุญาตสำหรับข้าราชการ ตำรวจ ทหารประจำการ ให้มีอาวุธปืนให้ถือปฏิบัติดังนี้
    ก. ข้าราชการตั้งแต่สัญญาบัตรขึ้นไป ไม่ต้องดำเนินการตามข้อ 3 แต่ต้องให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้นหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าหรือผู้กำกับการตำรวจ
 หรือผู้บังคับกองพันทหารรับรองความประพฤติและตำแหน่งหน้าที่การงานเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
    ข. ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ต้องสอบสวนตามข้อ 3 เว้นแต่กรณีผู้มีหน้าที่สืบสวนและปราบปรามโจรผู้ร้ายเป็นประจำ
 หรือมีหน้าที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต หรือมีหน้าที่ควบคุมเงิน ไม่ต้องสอบสวนแต่ต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติและตำแหน่งหน้าที่การงานจากผู้บังคับบัญชาตามข้อ ก.
        
 ข้อ 7 การขอรับโอนอาวุธปืน
    ก.การรับโอนอาวุธปืนระหว่างบุคคลทั่วไป พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
    ข. การรับโอนปืนมรดก ถ้าผู้รับโอนมีคุณสมบัติครบถ้วน และเป็นทายาทโดยตรงต้องการรับโอนไว้ก็อนุญาตได้
         

ข้อ 8 นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา ซึ่งทางการนับเวลาการศึกษานั้นเป็นวันรับราชการ เช่น นักเรียน
    นายร้อย นายเรืออากาศ นายร้อยตำรวจ ควรมีสิทธิได้รับอนุมัติให้มีอาวุธปืนได้ แต่ควรพิจารณาให้เฉพาะเป็นกีฬา หรือในกรณีรับโอนมรดกซึ่งไม่มีทายาทผู้อื่นที่จะรับโอนไว้ได้
 หรือผู้ที่ได้รับปริญญาแล้วยังไม่ประกอบอาชีพแต่กำลังศึกษาต่ออีกควรพิจารณาให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น

  
 ข้อ 9 การพิจารณาออกใบอนุญาตสำหรับเครื่องกระสุนปืนของบุคคลนั้น ต้องสอบให้ทราบว่าผู้ขออนุญาตมีอาวุธปืน ซึ่งใช้กับอาวุธปืนที่ขออนุญาตหรือไม่ หากไม่มีห้ามออกใบอนุญาตให้
 ถ้ามีและจะขออนุญาตต้องเสนอว่ามีเหตุผลจำเป็นเพียงใดสำหรับอัตราที่จะต้องขออนุญาตให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 759/2494 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2494 ข้อ 14ตามกำหนดและอัตราอย่างสูงต่อไป
    (1) กระสุนโดด ปืนยาวทุกชนิด อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามา ได้ไม่เกินปีละ 100 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะขออนุญาตได้ไม่เกิน 50 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดนั้น ๆ
ถ้าขอซื้อภายในราชอาณาจักรให้อนุญาตได้ไม่เกินปีละ 60 นัด แต่การอนุญาตให้อนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 15 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
    (2)กระสุนปืนพกทุกชนิดอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามาได้ไม่เกิน 50 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ25 นัด สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆถ้าขอซื้อภายในราชอาณาจักร
 ให้อนุญาตได้ไม่เกินปีละ 36 นัด แต่การขออนุญาตนี้ ให้อนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 12 นัดสำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆ
    (3) กระสุนลูกซองชนิดต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 ขนาด ตามรายการในนบัญชีเทียบขนาดกระสุนต่าง ๆ ต่อไปนี้ขนาดที่ 1 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 100 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 25 นัด
สำหรับกระสุนปืนชนิดหนึ่ง ๆขนาดที่ 2 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 200 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 50 นัด  สำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆขนาดที่ 3
 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 300 นัด แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะขออนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 75 นัดสำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆขนาดที่ 4 อนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าไม่เกินปีละ 400 นัด
 แต่การสั่งหรือนำเข้ามานี้จะอนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 100 นัดสำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆแต่ทั้งนี้ขอรวมกันคราวเดียวทุกขนาดให้อนุญาตไม่เกินปีละ 1,000 นัด แต่การอนุญาตนี้จะอนุญาตไม่เกินคราวละ 250 นั
ดสำหรับกระสุนปืนลูกซองชนิดหนึ่ง ๆจำนวนที่กำหนดนี้เป็นอันตรายอย่างสูงที่จะอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศส่วนการขอซื้อภายในราชอาณาจักรให้อนุญาตได้ไม่เกินปีละ 500 นัด แต่ในการอนุญาตครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 25 นัด
เฉพาะกระสุนปืนลูกซองตามบัญชีเทียบขนาดที่ 1 กรมตำรวจได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกระสุนปืนที่โดยปกติใช้ล่าสัตว์ใหญ่ จึงให้อนุญาตปีละไม่เกิน 100 นัด แต่ในการอนุญาตครั้งหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกิน 10 นัด ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในการสงวนพันธ์สัตว์ป่า
    (4) กระสุนอัดลมอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้า หรือซื้อภายในราชอาราจักรได้ไม่เกินคราวละ 1,000 สำหรับกระสุนปืนอัดลมชนิดหนึ่ง ๆ
    (5) กระสุนลูกกรดทุกชนิดให้อนุญาตสั่งได้ไม่เกินปีละ 100 นัด ถ้าเป็นการซื้อในราชอาณาจักรให้อนุญาตได้ไม่เกินคราวละ 200 นัด แต่ต้องไม่เกินปีละ 1,000 นัดการอนุญาตกระสุนปืนตามคำสั่งนี้
ได้กำหนดอัตราขึ้นไว้ เพื่อให้เป็นระดับเดียวกันในการอนุญาตตามปกติ แต่ถ้ามีกรณีซึ่งจะต้องผ่อนผันการออกอนุญาตเป็นพิเศษ เช่น ในกรณีที่คนต่างด้าว
 หรือข้าราชการสถานฑูตอันมีสัมพันธไมตรีต่อประเทศไทยนำติดตัวเข้ามา ก็ให้พิจารณาผ่อนผันได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายไปแล้วแจ้งให้กรมศุลกากรทราบ
    ถ้าเป็นกรณีซื้อภายในราชอาณาจักร เมื่อได้ผ่อนผันไปแล้วให้รายงานเหตุที่ผ่อนผันให้กระทรวงทราบเฉพาะคนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันข้างต้นต้องเป็นบุคคลที่ได้รับสิทธิคุ้มกัน เช่นเจ้าหน้าทื่องค์การระหว่างประเทศ
       
  ข้อ 10 ในกรณีพิเศษต่าง ๆ นอกจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายทะเบียนเฉพาะเรื่องเฉพาะรายที่จะพิจารณาสั่งการ

        
 ข้อ 11 ถ้าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจท้องที่ มีความสงสัยพฤติการณ์ไม่นาไว้วางใจว่าผู้รับใบอนุญาตคนใดจะเป็นผู้ต้องห้ามในการออกใบอนุญาตตามาตรา 13 (7)(8) หรือ(9)
 ก็ให้พนักงานสอบสวนท้องที่รายงานพฤติการณ์ไปยังนายทะเบียนท้องที่ เพื่อเรียกตัวผู้รับอนุญาตมาทำประกันทัณฑ์บน หรือพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเป็นราย ๆ ไป การทำประกันทัณฑ์บน ให้นายทะเบียนท้องที่เรียกตัวผู้รับอนุญาตมาดำเนินการดังนี้
    ก. ให้นำหลักฐาน การประกอบอาชีพ และรายได้มาแสดง
    ข. ให้นำหลักฐาน ภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่ และบัตรประจำตัวมาแสดง
    ค. ให้นำบุคคลที่เชื่อถือได้มารับรองทำสัญญาประกันและให้ผู้ได้รับอนุญาตทำทัณฑ์บนต่อนายทะเบียนท้องที่ โดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน และไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันทำประกันทัณฑ์บนถ้าผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวหาประกันที่เชื่อถือไม่ได้
หรือไม่ยอมทำทัณฑ์บนภายในเวลาอันสมควรตามที่นายทะเบียนได้กำนดให้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้ซึ่งจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ให้นายทะเบียนท้องที่เพิกถอนใบอนุญาตทุกรายไป
 เมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้ทำสัญญาประกันทัณฑ์บนแล้ว ให้แจ้งสารวัตรใหญ่หรือ สารวัตรสถานีตำรวจท้องที่โดยมิชักช้า เพื่อสอดส่องพฤติการณ์ และหากปรากฏว่าผู้ทำสัญญาประกันหรือทัณฑ์บนผิดสัญญาประกัน
 หรือทัณฑ์บนก็ให้สารวัตรใหญ่หรือสารวัตรสถานีตำรวจท้องที่ แจ้งให้นายทะเบียนท้องที่ทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
        

 ข้อ 12 การเพิกถอนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่เอาใจใส่ตรวจสอบบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหากสงสัยพฤติการณ์ของผู้รับใบอนุญาตหรือปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ออกใบอนุญาต
ก็รวบรวมหลักฐานรายงานนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า เพื่อดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตต่อไปการสอบสวนคดีอาญา ในคดีความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 ให้พนักงานสอบสวน
สอบสวนผู้ต้องหาให้ปรากฏ ว่าเป็นผู้ใด้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ หากปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ออกใบอนุญาต ก็ให้รวบรวมหลักฐานรายงานนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า
 และเมื่อผลคดีถึงที่สุดเป็นประการใด ให้รายงานนายทะเบียนทราบ เพื่อดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวข้างต้นต่อไป  เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนผู้ใดเป็นผู้จะต้องดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาต
 นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่กรุงเทพมหานคร รายงานพฤติการณ์ข้อเท็จจริงพร้อมพยานหลักฐาน เสนอขอความเห็นชอบจากกรมตำรวจก่อนหากกรมตำรวจเห็นชอบแล้วให้ทำคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
 แล้วจัดเจ้าหน้าที่ไปร่วมกับตำรวจท้องที่ที่ผู้รับอนุญาตมีภูมิลำเนาอยู่ แจ้งคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้ความคุมดูแลทราบ เพื่อขอรับอาวุธปืนและใบอนุญาตมีและใช้อาวุธปืนมาดำเนินการต่อไป
 และให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่นั้น ๆ ลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่ไม่สามารถติดตามผู้รับใบอนุญาตได้ หรือไม่มีผู้อนุบาล หรือควบคุมดูแล ให้นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ประกาศคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไว้
 ณ ที่ทำการของนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ และที่อยู่ของผู้ได้รับอนุญาต ภายในกำหนด 30 วัน เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวให้นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ แจ้งสถานีตำรวจดำเนินคดีกับผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป
 ในกรณีที่ย้ายทะเบียนอาวุธปืน ผู้สั่งเพิกถอนแจ้งให้นายทะเบียนผู้ออกใบอนุญาตทราบเพื่อหมายเหตุในทะเบียนคุมต่อไป
       

  ข้อ 13 หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาต ให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืนนี้เป็นหลักเกณฑ์โดยทั่วไป สำหรับใช้เป็นแนวทางพิจารณาของนายทะเบียนอาวุธปืนเท่านั้น หากรายใดนายทะเบียนมีเหตุผลอันสมควรว่าผู้ขอมีพฤติการณ์
ไม่เหมาะสม หรือมีเหตุผลความจำเป็นไม่เพียงพอ แม้จะเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ขัดต่อมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 ก็ตาม นายทะเบียนจะไม่อนุญาตก็ได้
    มีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
    1. ยื่นคำขอ ตามแบบ ป.1 ระบุ ชนิด ประเภท จำนวน พร้อมทั้งแหล่งที่จะขอซื้อพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชากรณีเป็นข้าราชการ หรือหนังสือรับรองของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรณีเป็นราษฏรทั่ว ๆ ไป
    2. สอบสวนคุณสมบัติ
    - สอบสวนในประเด็นเกี่ยวกับการต้องโทษคดีอาญา อาชีพ ความสามารถและความประพฤติ ได้แก่ ( พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ. 2490 ม.13 )
            - สอบสวนสภาพความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการพิจารณาด้วย
            - ถ้าเป็นเขตกรุงเทพมหานคร กรณีเป็นบุคคลที่ไม่เคยมีอาวุธปืนมาก่อน ต้องส่งเรื่องราวคำร้องให้ตำรวจท้องที่สอบสวนคุณสมบัติ และหลักทรัพย์(ยกเว้นผู้ขอเป็นผู้ใหญ่บ้าน)
            - สำหรับต่างจังหวัด ให้นายทะเบียนท้องที่พิจารณาสอบสวนคุณสมบัติอย่างรอบคอบ และรวดเร็ว โดยราษฏรให้สอบสวนจากเจ้าพนักงานปกครองที่ใกล้ชิดเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
เฉพาะกรณีสงสัยให้นายทะเบียนพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติร่วมกับผู้บังคับกอง หรือ หัวหน้าสถานีตำรวจ
          
    3. ถ้านายทะเบียนอนุญาตก็ให้ออก ป.3 ให้ไปซื้ออาวุธปืน
    4. เมื่อได้รับ ป.3 แล้วจะต้องซื้ออาวุธปืน ณ ท้องที่ หรือ บุคคลที่ระบุไว้ใน ป.3 เท่านั้น เมื่อซื้อแล้วให้นำอาวุธปืนและใบคู่มือประจำปืนไปขอ ออกใบอนุญาต ป.4
    5. เมื่อออก ป.4 แล้ว นายทะเบียนต้องเพิ่มรายการลงในทะเบียนอาวุธปืนประจำรายตำบลและประเภทอาวุธปืน


ที่มา http://www.bangkhenpolice.com

กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งเสพติด

กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งเสพติด









กฎหมายเกี่ยวกับผู้มีสิ่งเสพติดไว้ในครอบครอง
กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งเสพติดมีอยู่หลายฉบับ แต่เนื่องจากบทลงโทษกำหนดไว้ สถานเบาซึ่ง
เป็นเหตุให้ผู้ค้าสิ่งเสพติดไม่กลัวเกรง ต่อการกระทำผิดรวมทั้งมีหลายหน่วยงาน  ในการดำเนินการ ทำให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติ รัฐจึงได้ดำเนินการแก้ไข
ปรับปรุง โดยร่างพระราชบัญญัต ิยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ขึ้น ดังนั้นพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
จึงเป็นกฎหมายสำคัญในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับผู้มี  สิ่งเสพติดไว้ในครอบครอง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กำหนดโทษไว้
ดังนี้
      มีไว้ครอบครอง     
มีบางมาตราบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายไว้ว่า "ในกรณีมีเฮโรอีนไว้ในครอบ ครอง  ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ทั้งนี้มิได้หมาย
 ความว่า ถ้ามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองไม่ถึง 20 กรัม จะตั้งข้อหาว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อ จำหน่ายไม่ได้ ถ้ามีพยานหลักฐานอื่นที่แน่นอน ก็สามารถที่จะตั้งข้อหาได้" โทษสูงสุดถึง
  ประหารชีวิต โทษต่ำสุดจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง500,000 บาท ความผิดคดีสิ่งเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคเคน หรือฝิ่น

 มีโทษ สูงสุดถึง จำคุกตลอดชีวิต ความผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เช่น กัญชา กระท่อม โทษสูงสุด คือ
จำคุก 15 ปี และโทษปรับสูงสุด 150,000 บาท

             ปัญหาเรื่องการเสพยาเสพติดแต่เดิมเป็นปัญหายุ่งยากมาก จะต้องนำสืบปราศจาก
ข้อสงสัยว่า เสพอย่างไร ที่ไหน เมื่อไร จึงให้ความหมายไว้ว่า "เสพ" หมายถึง การรับ  สิ่งเสพติดเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งสามารถตรวจพบได้โดยหลัก วิทยาศาสตร์
  การแพทย์ เช่นนี้จะช่วยเหลือได้มาก เมื่อจับผู้เสพได้โดยไม่มีของ กลางหรืออุปกรณ์
ในการเสพ ในการนี้แพทย์จะยืนยันได้ว่าเสพสิ่งเสพติด ชนิดนั้น ๆ สู่ร่างกายและเสพเมื่อไร แล้วศาลลง โทษได้" โทษเกี่ยวกับผู้เสพยาเสพติด ประเภท เฮโรอีน ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน
 ต้องระวาง โทษจำ  คุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 100,000 บาท ผู้เสพกัญชา กระท่อม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท


 ที่มา  http://203.172.184.9/wbi3/ya_14.htm

กฏหมายลักษณะพยาน

กฎหมาลักษณะพยาน ชั้นจับกุม ๑.เจ้าพนักงานผู้จับกุมต้อง.... (๑) แจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดแห่งการจับ (๒) แจ้งสิทธิ์ (๒.๑) สิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ (๒.๒) สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ที่จะเป็นทนายความ ๒.ผู้ถูกจับกุมมีสิทธิ.....ที่จะแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจทราบถึงการจับกุมในโอกาศแรก ๓.สิทธิของผู้ต้องหา..... (๑)ทนาย (๒)เข้า (๓)เยี่ยม (๔)พยาบาล ๔.การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.....ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป แต่ทำให้การควบคุมของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบ ๕.การคุมขังบุคคลใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย.....(๑)อัยการ (๒)สอบ (๓)เรือนจำ (๔)อื่น สามารถยื่นคำร้องให้ปล่อยตัวได้ (ในเวลาที่ต้องขังอยู่) ๖.คำรับสารภาพในชั้นจับกุม.....ห้ามศาลรับฟังเพื่อลงโทษจำเลย ๗.บันทึกการจับกุม.....เป็นพยานเอกสาร และเป็นเอกสารราชการ ๘.การขูดลบ , ตกเติม , แก้ไข ในบันทึกการจับกุม....ถ้าถูกต้องตรงความจริง ศาลรับฟังได้ ๙.พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาจากการค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย....ห้ามศาลรับฟัง ๑๐.พยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูล ที่เกิดขึ้น ที่ได้มา โดยมิชอบ....ห้ามศาลรับฟัง ๑๑.การจับ , การค้น แม้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การสอบสวนกระทำโดยชอบ..........พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง
ชั้นสอบสวน ๑.ในชั้นสอบสวน ถ้าผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยาน ไม่สามารถพูด หรือเข้าใจภาษาไทยได้และไม่มีล่าม....ให้พนักงานสอบสวนจัดหาล่ามให้ ๒.ล่ามจะต้อง.....สาบานคน หรือปฏิญานตนว่าทำหน้าที่โดยสุจริต จะไม่เพิ่มเติม หรือตัดทอนข้อความที่แปล และต้องลงลายมือชื่อในคำแปล มิฉะนั้นศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ๓.เป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวน.....ที่จะให้พยานหรือผู้เสียหายสาบาน หรือปฏิญานตน ก่อนให้ปากคำ ๔.ในการปากคำพยาน , ผู้เสียหาย ......ห้ามพนักงานสอบสวน ตักเตือน พูดให้ท้อใจ หรือใช้กลอุบายอื่น เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ ๕.ในการถามคำให้การของผู้ต้องหา......ห้ามพนักงานสอบสวน ทำหรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญา กับผู้ต้องหา เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น หากฝ่าฝืนจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาไม่ได้ ๖.การถามปากคำผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มี....นักจิต นักสังคม อัยการ เข้าร่วมในการสอบสวน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ๗.คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือที่มีเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปีเป็นผู้ต้องหา......ก่อนถามคำให้การ พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาก่อนว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีต้องจัดหาให้ ๘.การสอบสวนผู้ต้องหา....ต้องมีการแจ้งสิทธิ และแจ้งข้อกล่าวหา ๙.ถ้าไม่มีการแจ้งสิทธิ....จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ๑๐.ถ้าไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา....ถือว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ ๑๑.ศาลอาจรับฟังการซัดทอดของผู้ต้องหา ถึงผู้ต้องหาอื่น......ประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ ๑๒.ในชั้นสอบสวน.....ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้ทนายความ หรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนได้ และพนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธินี้ให้ผู้ต้องหาทราบ ถ้าไม่แจ้งรับฟังไม่ได้ ๑๓.ในคดีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง.....ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิขอทราบสรุปพยานหลักฐาน พร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวน และอัยการ ๑๔.เมื่ออัยการได้ยื่นฟ้องแล้ว....ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา มีสิทธิตรวจ หรือคัดสำเนาคำให้การหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนในชั้นสอบสวน ๑๕.ก่อนฟ้องคดีต่อศาล....เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่า (๑) พยานบุคคลจะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร (๒)ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง (๓) มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากศาล (๔) มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม (๕) เป็นการยากแก่การนำพยานบุคคลนั้นมาสืบในภายหน้า ทั้งอัยการ หรือผู้ต้องหามีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สืบพยานบุคคลไว้ก่อน
ชั้นพิจารณา ๑.บุคคลที่จะเป็นพยานได้.....ต้องเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และต้องเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การมาด้วยตัวเอง ๒.แม้จะเป็นชาวต่างประเทศ , เด็ก หรือคนปัญญาอ่อน ถ้าสามารถเข้าใจ และตอบคำถามได้....ศาลก็รับฟังเป็นพยานบุคคลได้ ๓.คนหูหนวก หรือเป็นใบ้.....ก็สามารถเป็นพยานบุคคลได้ ๔.คำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย หรือพยาน ปกติศาลจะไม่รับฟังเพราะเป็นพยานบอกเล่า เว้นแต่.....มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ต้องฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น ๕.พยานบอกเล่าที่ศาลยอมรับฟัง..... (๑)คำบอกเล่าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของผู้กล่าว (๒)คำบอกเล่าถึงสิทธิสาธารณะ ที่ประชาชนมีอยู่ร่วมกัน (๓)คำบอกกล่าวของผู้ตาย ที่กล่าวถึงในเรื่องที่ถูกทำร้าย ที่รู้สึกตัวว่ากำลังจะตาย (๔)คำบอกเล่าที่ใกล้ชิดติดพันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (๕)คำบอกเล่าถึงเครือญาติวงศ์ตระกูล (๖)คำบอกเล่าถึงจารีตประเพณีท้องถิ่น ๖.ห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่...... (๑)ตามสภาพแหล่งที่มา ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า จะพิสูจน์ความจริงได้ (๒)มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำพยานบุคคลมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ๗.ห้ามศาลรับฟังพยานหลักฐาน.....ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย แต่...ไม่ห้ามนำสืบเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ ๘.ในคดีอาญา.....โจทก์จะอ้างจำเลย (ในคดีเดียวกัน) เป็นพยานไม่ได้ ๙.ศาลอาจรับฟังพยานบุคคลที่เป็นผู้ร่วมกระทำความผิด แต่ไม่ถูกฟ้อง ที่ให้การซัดทอดจำเลยว่ากระทำความผิด.....แต่มีน้ำหนักน้อย ต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบ อีกทั้งหากการให้การนั้น มีเหตุจูงใจ เพื่อมิให้ตนต้องถูกดำเนินคดี คำให้การนั้นไม่อาจรับฟังได้ ๑๐.ในคดีอาญาโจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยเป็ยผู้กระทำความผิด และมีหน้าที่นำสืบก่อนเสมอ เว้นแต่......จำเลยให้การว่า (๑)กระทำความผิดขณะวิกลจริต ตาม ป.อ. ม.๖๕ (๒)กระทำความผิดขณะมึนเมา ตาม ป.อ. ม.๖๖ (๓)กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ตาม ป.อ. ม.๖๗ (๔)กระทำความผิดโดยเหตุบันดาลโทสะ ตาม ป.อ. ม.๗๒ (๕)โจทก์ได้รับข้อสันนิษฐานที่เป็นคุณตามกฎหมาย จำเลยจึงต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
พยานเอกสาร ๑.ตัวอย่างต่อไปนี้นี้ล้วนเป็นพยานเอกสาร.... ศิลาจารึก คำจารึกที่หลุมศพ ภาพถ่ายจดหมายติดต่อการเช่า หมายเลยที่พานท้ายปืน ป้ายทะเบียนรถ บัตรเครดิต บันทึกตรวจสถานที่เกิดเหตุ บันทึกคำให้การชั้นสอบสวน สมุดบัญชีเงินฝาก แผนที่เกิดเหตุ ๒.ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานหลักฐานได้.....ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้ สำเนาที่รับรองว่าถูกต้อง หรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความก็อ้างเป็นพยานได้ ๓.การอ้างหนังสือราชการ....แม้ต้นฉบับจะมีอยู่ จะส่งสำเนาที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้ เว้นแต่หมายเรียกจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น ๔.ข้อยกเว้น การรับฟังต้นฉบับเอกสาร..... (๑)เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว (ตกลง) (๒)ถ้าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย (สูญหาย , ทำลาย) (๓)ต้นฉบับเอกสารอยู่ในความอารักขาหรืออยู่ในความควบคุมของทางราชการนั้น จะนำมาแสดงต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน (ราช) (๔)เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงสำเนาเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนมิได้คัดค้านการนำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบ (ขาดคัดค้าน) ๕.ในคดีอาญา.....คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานเอกสารไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจดูเหมือนในคดีแพ่ง ๖.ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์...พยานเอกสารที่นำสืบในชั้นพิจารณาไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องเป็นเอกสารที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วและอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้นจึงจะรับฟังได้ ๗.ในคดีอาญาแม้พยานเอกสารมิได้ปิดอากรแสตมป์.....ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
พยานวัตถุ ๑.พยานวัตถุ หมายความถึง....วัตถุสิ่งของที่คู่ความอ้างเป็นพยาน รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ๒.ตัวอย่างเหล่านี้เป็นพยานวัตถุ.... ธนบัตรของกลางที่ใช้ล่อซื้อ ของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด ร่องรอยที่เกิดจากการชนกัน สำเนาโพยสลากกินรวบ ภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ ภาพถ่ายบุคคล ภาพถ่ายรถยนต์ อาวุธปืน , มีด , เลือด ร่างกายมนุษย์ คราบเลือด เทปบันทึกเสียง บาดแผล ๓.พยานวัตถุเกิดขัดแย้งกับพยานบุคคล....ปกติศาลต้องถือว่าพยานวัตถุมีน้ำหนักมากกว่า พยานผู้เชี่ยวชาญ ๑.พยานผู้เชี่ยวชาญ.....บุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญในการใดๆ เช่น วิทยาศาสตร์ การแพทย์ ฝีมือ พาณิชยการ การศิลปะ หรือ กฎหมายต่างประเทศ ๒.ในคดีอาญา.....พยานผู้เชี่ยวชาญจะทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายทราบ และต้องมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ๓.ในกรณี ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุก.....หากมีความจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงใด ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ทำการตรวจได้ ๔.หากคู่ความฝ่ายใดไม่ยินยอม หรือปัดป้องไม่ยอมให้ตรวจ.....ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่า ข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้าง หลักทั่วไป ๑.ในการสืบพยาน.....ศาลเป็นผู้สืบ จะสืบในศาลหรือนอกศาลก็ได้ ๒.คู่ความหรือพยานฝ่ายใด จะต้องให้การหรือส่งพยานหลักฐานต่อไปนี้..... (๑)เอกสาร หรือข้อความที่ยังเป็นความลับของทางราชการอยู่ (๒)เอกสาร หรือข้อความลับ ที่ได้มาหรือทราบเนื่องในอาชีพ หรือในหน้าที่ของเขา (๓)วิธีการ แบบแผน หรืองานอย่างอื่นซึ่งกฎหมายคุ้มครองไม่ยอมให้เปิดเผย คู่ความหรือบุคคลนั้นมีอำนาจไม่ยอมให้การหรือส่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความลับนั้น ที่มา http://www.chonburi33.com/new/index.php?topic=20.0 http://www.youtube.com/watch?v=VywUj-q3IkY

ความหมายกฎหมายแรงงาน


 "กฎหมายแรงงาน"  หมายถึง  ข้อบังคับที่รัฐได้กำหนดขึ้น เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง  เกี่ยวกับการจ้างและการทำงาน เกี่ยวกับองค์กรฝ่ายของนายจ้าง และองค์กรของฝ่ายลูกจ้าง เกี่ยวกับการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับสภาพของการจ้างงาน  การระงับข้อพิพาทปัญหาแรงงาน  การนัดหยุดงาน ปิดงาน งดจ้าง  ตลอดจนการกำหนดความคุ้มครองในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง  การจัดหางาน  การสงเคราะห์อาชีพ การส่งเสริมการทำงาน เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงานให้มีมากยิ่งขึ้น
   ในเรื่องของแรงงาน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าขาดซึ่งแรงงานแล้ว สังคมหรือประเทศก็คงไม่สามารถที่จะพัฒนาไปได้ แต่ว่า ถึงแม้แรงงานจะเป็นสิ่งที่สำคัญเพียงใด ในฐานะของผู้ใช้แรงงานก็มักจะตกเป็นเบี้ยล่าง ถูกกดขี่และถูกเอาเปรียบอยู่เสมอๆ  ทั้งนี้ก็อาจจะเป็นเพราะผู้ใช้แรงงานโดยส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด มีฐานะที่ค่อนข้างยากจนและยังขาดการศึกษาที่ดี  เป็นเหตุให้ผู้ใช้แรงงานไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของการเจรจาต่อรองกับผู้เป็นนายจ้างมากนัก  ดังนั้นแม้ว่าผู้ใช้แรงงานจะถูกเอาเปรียบมากขนาดไหน ก็ยังต้องก้มหน้ายอมปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างนั้น
เพราะหากขืนโต้แย้งขัดค้านขึ้นมาแล้ว ก็คงถูกหมายหัวเอาไว้ว่า ดื้อหัวแข็ง  สุดท้ายแล้วลูกจ้างคนนั้นอาจต้องตกงานเตะฝุ่นเอาง่ายๆ ได้เช่นกัน

   ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมบริการจัดการในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นทั้งสองฝ่าย โดยได้เข้ามาควบคุมจัดการในเรื่องที่สำคัญต่างๆ  เช่น  อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ผู้ใช้แรงงานควรได้  ตามสภาพของเศรษฐกิจและค่าครองชีพในขณะนั้นๆ  เกี่ยวกับระยะเวลาในการทำงาน  เกี่ยวกับข้อตกลงต่างเกี่ยวกับการจ้างงาน เป็นต้น โดยการจัดการในเรื่องดังกล่าว  รัฐได้เข้ามาจัดการในรูปของกฎหมาย เพื่อให้มีผลบังคับได้โดยทั่วไป

ที่มา http://www.chawbanlaw.com

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

ความรู้เบื้องต้นกับกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา
“ทรัพย์สินทางปัญญา” ในความรู้สึกของผม มันคือเสรีภาพ คือความเท่าเทียมกันของมนุษย์ในการที่จะเลือกเดินตามฝัน เลือกที่จะใช้ชีวิตเลยทีเดียว ทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ต้องมี ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือปริญญาจากมหาลัยดีๆ เพียงแค่มี ความคิด จินตนาการ มีการทุ่มเท รู้จักวิธีค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองและรับผิดชอบ ก็สามารถทำให้ ผู้นั้นประสบความสำเร็จในชีวิตได้และที่สำคัญเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมโลกด้วยเช่นกัน ด้วยความคิดและการทุ่มเทจากทรัพย์สินทางปัญญาของมนุษย์สามารถ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่เดือดร้อนได้มากมายจากปัญญาของตนเป็นเรื่องที่พิเศษมากอย่างหนึ่งของโลกนี้ มันเป็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์เมื่อเราสามารถสร้างสรรค์อะไรได้ หรือแม้แต่วิศวกรเอง สังคมเราเชื่อว่าระบบการศึกษาน่าจะช่วยให้เราเชื่อมั่นได้ว่าเค้าจะสามารถสร้างสรรค์ได้จริง แต่หากแม้เป็นวิศวกรแต่เพียงปริญญา ไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานใดให้กับสังคมเป็นรูปธรรมขึ้นมาสักชิ้น ผมยังคิดว่าเทียบไม่ได้เลยกับนักประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรจากการประดิษฐ์ผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยที่เขาไม่ได้เรียนหนังสือด้วยซ้ำ ทรัพย์สินทางปัญญาคือเวทีของผู้สร้างสรรค์ตัวจริง คำว่า “ผู้สร้างสรรค์” เป็นคำที่สวยงามจริงและเป็นภาษากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา “Intellectual Property” หลายๆ ฝ่ายได้มีการนิยามแตกต่างกันไปอย่างกว้างขวาง ผมสรุปการจับใจความได้ว่ า ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปร่าง (รูปธรรม) หรือความคิด (นามธรรม) ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น การออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้า การออกแบบวงจร สิ่งประดิษฐ์ บทกวี วรรณกรรม ภาพวาด แนวความคิด เป็นต้น แต่ในแง่ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ผมเข้าใจเอาเองว่า ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ทรัพย์สินอันเกิดจากผลิตผลทางความคิดของผู้สร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสมบัติอันล้ำค่าของทุกคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ วิธีดั้งเดิมของคนโบราณ ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตน คือการเก็บสิ่งที่ตนคิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นมาไว้ในสมองของผู้คิดค้น เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อผู้อื่นมาพบสิ่งที่ตนคิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นมา แล้วนำไปหาประโยชน์ โดยที่ตนไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนใดๆ ดังนั้นทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ จะยังคงถูกเก็บรักษ าไว้ตราบจนผู้คิดค้นสร้างสรรค์ตัดสินใจเปิดเผย หรือไม่ก็ตายตามผู้คิดค้นดับไปปัจจุบันองค์ความรู้ในเรื่องใดๆ นับว่ามีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะงานวิศวกรรมโทรคมนาคมในปัจจุบันที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและมีวงจรชีวิตสั้นลง(Shortly Technology Life Cycle) ในหนึ่งชั่วชีวิตคน หากค้นคว้าเอง คิดเอง ปฏิบัติเอง เพียงลำพัง เทคโนโลยีคงไม่สามารถก้าวไกลไปได้รวดเร็วสักเท่าไร ดังนั้นการต่อยอดทางความคิดและการจัดการแบ่งกันคิด แบ่งกันสร้างสรรค์ในมุมมองเชิงมิติสัมพันธ์เพื่อสร้างงานใหญ่ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสังคมมนุษย์ กฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาจึงเกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ที่คิดค้นงานสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นคนแรก ให้สามารถหาประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ของตนได้อย่างเต็มที่และชอบธรรม อีกทั้งยังให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นถูกนำมาเปิดเผยเพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อโลกและสังคมมนุษย์ต่อไปและยังเป็นการลดขั้นตอนการคิดเพื่อนำความรู้เดิมมาต่อยอดความรู้ใหม่ ทำให้นักคิดและผู้สร้างสรรค์สามารถลดเวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประโยชนต่อสังคมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
พัฒนาการของการร่วมมือทางทรัพย์สินทางปัญญาของโลก ประเทศต่างๆ ที่เห็นความสำคัญของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา จึงได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา มาบังคับใช้ในประเทศของตน แต่เมื่อมีการเชื่อมต่อระหว่างประเทศและมีการทำธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business) โดยเฉพาะเครือข่ายต่างๆ เพื่อการติดต่อกันระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากระบบโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่ายุค โลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นผลให้การแพร่กระจายความรู้ที่เกี่ยวกับการคิดค้นความคิดสร้างสรรค์ใดๆ นั้นแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว (Technology Diffusion) โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี แน่นอนว่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้คิดค้นย่อมกระทบกระเทือนด้วยเช่นกัน ประเทศต่างๆ ควรให้เกียรติซึ่งกันและกันในการให้ความเคารพ ความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญา โดยการออกระเบียบและกฎหมาย ให้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ ที่ผู้สร้างสรรค์จะได้รับให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะในการค้นคว้าและแลกเปลี่ยนวิทยาการซึ่งกันและกันโดยไม่กระทบต่อประโยชน์ผู้สร้างสรรค์ที่ควรได้รับ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญอย่างมากๆ ในระดับสากล หลายๆ ประเทศล้วนได้ให้ความสำคัญในการทำข้อตกลงเพื่อคุ้มครองประโยชน์ ของผู้สร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา จนเกิดเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศมานับร้อยปีแล้ว และสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน ดังที่เราทราบกัน เช่น อนุสัญญา ปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ค.ศ. 1883 (Paris Convention, of March 20” 1883” for The Protection of Industrial Property) โดยอนุสัญญาฉบับนี้เน้นเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ปัจจุบันประเทศมหาอำนาจทั้งหลายได้เล็งเห็นการรักษาประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญา ยกเว้นประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งตัวแทนในการเจรจาการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศจะเสียเปรียบเสมอ ดังเราจะเห็นได้จาก สหรัฐอเมริกาได้ยกเอาปัญหาเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศเป็นหัวข้อสำคัญในการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงทั่วไปทางภาษี ศุลกากรและการค้า (The General Agreement on Tariffs and Trade) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าการเจรจา แกตต์ รอบ อุรุกกวัย (the Uruguay Round Negotiations) และสิ้นสุดเมื่อ เมษายน 2537 โดยมุ่งเน้นเรื่องปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามยังมีอนุสัญญาอีกฉบับหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับกฏหมายการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง แต่เป็นอนุสัญญาสนับสนุนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยผ่านองค์กรกลางที่ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือระหว่างรัฐ และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อความร่วมมือทางทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งประเทศไทยก็ได้ร่วมเป็นภาคีสมาชิกอยู่ ซึ่งอนุสัญญานี้เรียกว่า “อนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก” (Convention Establishing the World Intellectual Property Organization) หรือมีชื่อเรียกย่อว่า WIPO มีฐานะเป็นหน่วยงานพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ และในปัจจุบันได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศด้านทรัพย์สินทางปัญญา
อย่างไรก็ตามเมื่อโลกได้เปลี่ยนไปเข้าสู่ระบบการค้าเสรี การทำการค้าระหว่างประเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสังคมโลก นานาประเทศล้วนหาแนวทางร่วมกันในการกำตัดการกีดกันทางการค้าให้หมดสิ้นไป จึงได้มีการเจรจาตกลงเพื่อกำหนดกฏเกฑ์เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศขึ้น โดยเริ่มจากประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตกลงทางด้านภาษีศุลกากรและการค้า General Agreement on Tariffs and Trade หรือที่เยกกันทั่วไปว่า GATT แต่แล้วในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการเจรจา GATT ในรอบอุรุกวัย ได้มีข้อตกลงการจัดตั้งองค์การการค้าโลกหรือ World Trade Organization หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า WTO และเหล่าประเทศอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง ได้เสนอประเด็นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการค้านั่นคือ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา จนในที่สุดได้มีข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้า (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights, Including Trade in Counterfeit Goods) หรือที่เคยได้กันยินบ่อยๆ ว่า TRIPs และประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงดังกล่าวนี้เมื่อ 28 ธันวาคม 2537 ซึ่งบทบัญญัติของกฏหมายประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาต้องสอดคล้องกับคำแนะนำและหลักเกณฑ์ของ TRIPs ด้วย การเข้าร่วมกับประชาคมโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย เมื่อเจ็ดสิบกว่าปีก่อน ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประชาคมโลกทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) โดยประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาเบิร์นเพื่อคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรร ม ซึ่งแก้ไขและปรับปรุงที่กรุงเบอร์ลิน ในปี ค.ศ. 1908 และเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีดังกล่าวจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ 2474 ขึ้นในปีเดียวกันพันธกรณีของประเทศไทยที่มีอยู่ตามอนุสัญญาเบิร์นได้เปลี่ยนแปลงครั้งแรกใน พ.ศ. 2523 (ค.ศ 1980) เมื่อประเทศไทยได้เข้าผูกพันตามพิธีสารกรุงปารีส ค.ศ. 1971 ในบทบัญญัติด้านการบริหารเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2523 และพันธกรณีของประเทศไทยตามอนุสัญญาเบิร์นได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) เมื่อประเทศไทยได้ทำคำประกาศต่อองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าจะขยายผลของความผูกพันไปยังบทบัญญัติด้านสารบัญญัติ (มาตรา 1 ถึง 21) ของพิธีสาร กรุงปารีส ค.ศ. 1971 การเข้าผูกพันมีผลสมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ทำให้ประเทศไทยต้องผูกพันเต็มที่ตามพิธีสารกรุงปารีส ค.ศ. 1971 ทั้งบทบัญญัติด้านสารบัญญัติ (มาตรา 1 ถึง 21 ) และบทบัญญัติด้านการบริหาร (มาตรการ 22 ถึง 38)เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศไทยไม่เคยเข้าเป็นภาคีในความตกลงกับประเทศใด แม้ว่าประเทศไทยจะได้มีการตรากฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับแล้วก็ตาม ซึ่งนอกเหนือจากอนุสัญญาเบิร์น ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศแล้ว แม้ว่าประเทศไทย จะไม่ต้องผูกพันตามความตกลงระหว่างประเทศใด ๆ ที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองแก่สิ่งที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาก็ตาม นอกจากความผูกพันตามอนุสัญญาเบิร์น อนุสัญญาปารีสเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมมีอิทธิพลอย่างมากในการร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของไทย กฎหมายเครื่องหมายการค้าปัจจุบัน ยอมรับการจำแนกสินค้าและบริการตามบทบัญญัติของความตกลงนีซเรื่องการจำแนกระหว่างประเทศซึ่งสินค้าและบริการระหว่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ในการจดทะเบียนเครื่องหมาย นอกจากอนุสัญญาเบิร์นแล้วยังมีความตกลง TRIPs ซึ่งประเทศไทยและประเทศส่วนใหญ่ในประชาคมโลกยอมรับและต้องบังคับตามพันธกรณี โดยการปรับปรุงและตรากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของตน เนื่องจากการอนุวัตรการความตกลง TRIPs มีผลให้ต้องยอมรับความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบางฉบับ ซึ่งอ้างถึงในความตกลง TRIPs ประเทศไทยเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าเป็นภาคีในความตกลงระหว่างประเทศเฉพาะเรื่องเหล่านั้น แต่ประเทศไทยก็ยังสนใจในการเข้าร่วมสนธิสัญญาความร่วมมือทางด้านสิทธิบัตร (PCT) คณะกรรมมาธิการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทบทวนพระราชบัญญัติสิทธิบัตรมีความเห็นว่าการเข้าเป็นภาคีจะเป็นประโยชน์กับผู้ประดิษฐ์ไทยในเรื่องของการจดทะเบียนระหว่างประเทศ เนื่องจากการยื่นคำขอสามารถทำได้ในประเทศไทย และผู้ยื่นคำขอสามารถระบุประเทศซึ่งตนประสงค์จะได้รับความคุ้มครองได้หลายประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การสืบค้นระหว่างประเทศจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และผู้ยื่นคำขอสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการแยกยื่นคำขอกับสำนักงานสิทธิบัตรหลายๆ แห่ง ดังนั้น คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงสรุปว่ารัฐบาลไทยควรดำเนินการเพื่อเข้าร่วมในสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตรโดยเร็ว ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายไทย ผมได้ค้นคว้าพบว่ามีหนังสือหลายเล่มที่กล่าวว่า ได้มีการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยบัญญัติเป็นกฏหมายชัดแจ้ง โดยเริ่มจากการคุ้มครองงานวรรณกรรมโดยประกาศหอสมุดวชิรญาณ ร.ศ.111 หรือ พ.ศ. 2435 หรือกล่าวได้ว่าเป็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรกของไทย ปัจุบันกฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ประกาศใช้ในประเทศไทย ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกของ WTO และเป็นประเทศกำลังพัฒนา การตรากฎหมาย ใหม่ตลอดจนการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สอดคล้องเป็นไปตามความตกลง TRIPs จะต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ขณะที่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งแก้ไขปรับปรุงและตราขึ้นเพื่อเป็นไปตามความตกลง TRIPs มีดังนี้ - พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 อันให้ความคุ้มครองงานประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์และแก้ไขเพิ่มเติม และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 -พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ ที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้มีลิขสิทธิ์ ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง -พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งให้ความคุ้มครองงานในสิทธิเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการและแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) นอกจากกฎหมายดังกล่าวแล้ว ยังมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิด ในส่วนของประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งฯ ในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาไว้อีกเช่นกัน เทคโนโลยีโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากทรัพย์สินทางปัญญาหรือวิวัฒนาการของงานวิศวกรรมก็ตามที สำหรับในประเทศไทยแล้วนอกจากกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคม และการสื่อสารที่เราทราบกันดีอยู่ ยังมีกฏหมายที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาที่จะมีบทบาทตามมาในอนาคตอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเสรีโทรคมนาคมอย่างเต็มที่ ซึ่งกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญานอกจาก พรบ. ทั้งสามที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหลาย พรบ. อาทิเช่น -พรบ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 -พรบ. คุ้มครองแบบผังวงจรรวม พ.ศ. 2543 -พรบ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 -พรบ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 -พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ประเภททรัพย์สินทางปัญญา 1. สิทธิบัตร 2. ลิขสิทธิ์และสิทธิเกี่ยวเนื่อง 3. เครื่องหมายการค้า 4. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 5. การออกแบบอุตสาหกรรม 6. การออกแบบผังภูมิ (ภูมิสภาพ) ของวงจรรวม 7. การคุ้มครองข้อสนเทศที่ไม่เปิดเผย
ที่มา http://www.torakom.com/article_index.php?sub=article_show&art=123

ที่มากฏหมายตราสามดวง

ที่มาของกฎหมายตราสามดวง

 การทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของกฎหมายตราสามดวงนั้น ควรเข้าใจความหมายของคำว่า “กฎหมาย” ก่อน ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของกฎหมายว่า“กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตา ม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ” ดังนั้นที่มาของตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่ใช้กันมานานกว่า ๔๐๐ ปีในสังคมไทย และได้นำมาประมวลไว้ในกฎหมายตราสามดวง จึงสะท้อนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของไทย ในสมัยอยุธยากฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย โดยผ่านมาทางมอญ คือ “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” ซึ่งมอญเรียกว่า “คัมภีร์ธัมมสัตถัม” คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อว่ามิได้เกิดขึ้นจากสติปัญญาของ มนุษย์ แต่เป็นผลงาน ที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้เป็นหลักในการอำนวยความยุติธรรมของพระมหากษัตริย์ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้เผยแพร่ไปในดินแดนต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งกฎหมายของอยุธยาที่ได้มีการประกาศใช้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๑๒) ก็ได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เช่นกัน และได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลักษณะต่างๆ หลายครั้งในรัชกาลต่อๆ มา รวมทั้งมีการตรากฎหมายใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย กฎหมายต่างๆ ที่เป็นการสืบสาขาคดี โดยยึดมูลคดีตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นหลักนั้น เรียกว่า “พระราชศาสตร์” ขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละพระองค์ก็ได้ทรงออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินตามความจำเป็นและเหมาะสม ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากที่มีกำหนดไว้ ในมูลคดีตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ รวมถึงการวินิจฉัยคดีความต่างๆ รวบรวมเป็นกฎหมายของแผ่นดินอีกส่วนหนึ่ง เรียกว่า “พระราชนิติศาสตร์ หรือพระราชนิติคดี” ดังนั้นตัวบท กฎหมายต่างๆ ในกฎหมายตราสามดวงจึงเป็นทั้ง “พระธรรมศาสตร์” และ “พระราชศาสตร์” และ “พระราชนิติศาสตร์ หรือ พระราชนิติคดี” ผสมผสานกันโดยมีคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์เป็นแกนหลักที่สำคัญ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสื่อมอำนาจและสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชได้ทรงกอบกู้ชาติจนได้รับอิสรภาพกลับคืนมา และทรงเร่งบูรณะฟื้นฟูบ้านเมืองตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี จนกระทั่งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสมัยรัตนโกสินทร์ พระองค์ก็ได้ทรงทำนุบำรุงประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะสรรพวิชาการความรู้ต่างๆ ที่ขาดตอนไป เนื่องจากการเสียกรุงศรีอยุธยาดังกล่าวมาแล้ว

ที่มา http://guru.sanook.com/encyclopedia

กฎหมายครอบครัว

กฎหมายครอบครัว(มรดก)
                ถ้าพูดถึงเรื่องกฎหมายครอบครัวมีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะคนเราเกิดมาก็ต้องมีครอบครัวหรือมีความเกี่ยวข้องกับครอบครัวกันหมดทุกคน
 เช่น คนเราเกิดมาก็ต้องมีพ่อแม่ , มีการสมรส , มีการหมั้น , มีการรับรองบุตร , มีการทำพินัยกรรม ,มีการจัดการมรดก , การปกครองบุตร , ทรัพย์สินระหว่างสามีและภรรยา ฯลฯ

                ดังนั้นเราจึงควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวไว้บ้าง ถ้าเกิดมีปัญหาจะได้แก้ไขได้ถูก ยกตัวอย่างเรื่องของ มรดก
 มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
 (มาตรา 1599* เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
 ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น  และมาตรา 1600* ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
 กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ
 หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ )

มีคนถามว่า มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด     มรดกจะตกถึงทายาท เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  กองมรดกของเจ้าของมรดกจะตกทอดกับทายาทโดย
 สิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม
            กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งทายาทออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย

        บุคคลที่จะเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกนั้น ถ้าเป็นทายาทโดยธรรมต้องเป็นบุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทได้ต้องมีสภาพบุคคล
ซึ่งสภาพบุคคลนี้ย่อมเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อบุคคลนั้นได้คลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก

ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่
1. ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
7. คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมจะต้องมีการลำดับและชั้นต่าง ๆ 
        ส่วนประเภทที่ 2 ทายาทโดยพินัยกรรม คือ ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะพินัยกรรมกำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือบุคคลภายนอกก็ได้       
(ตาม มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตาม กฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม" ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม")
เมื่อเจ้ามรดกตายลงไป บรรดาลูกๆ สามีหรือภริยาของเจ้ามรดก และอาจรวมถึงเครือญาติของเจ้ามรดกต่างคาดคิดว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกกันดี  แต่ควรที่จะประชุมทายาทโดยธรรมกันก่อน
 ว่าจะให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก และคนที่มีสติหรือมีจิตฟั่นเฟือน วิกลจริต ไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้

ทั้งนี้ผู้จัดการมรดกจะทำอะไรโดยพลการไม่ได้ และจะเอาแต่ใจตนเองก็ไม่ได้ และการร้องขอต่อศาลเพื่อจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดก จะไม่ต้องถูกคัดค้านจากบรรดาทายาท
อีกทั้งหน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีหน้าที่อย่างไรบ้างตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยบัญญัติไว้มีดังนี้
1.การจัดทำบัญชีทรัพย์ ตาม มาตรา 1714
2.การจัดการงานศพของเจ้ามรดก ตาม มาตรา 1649
3.การสืบหาตัวผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ตาม มาตรา 1725
4.การเรียกเก็บหนี้สินของกองมรดก ตาม มาตรา 1736 วรรคท้าย
5.การส่งเงินและทรัพย์สินเข้ากองมรดก ตาม มาตรา 1720
6.การแถลงความเป็นไปในการจัดการมรดกแก่ทายาท ตาม มาตรา 1720 + 809 + 1732
7.ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ทายาทสั่งหรือศาลสั่ง ตาม มาตรา 1730 + 1597
8.การแจ้งหนี้สินระหว่างผู้จัดการมรดกกับกองมรดก ตาม มาตรา 1730 + 1596
9.ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดก ตาม มาตรา 1732

                ดังนั้นการรู้กฎหมายหรือศึกษากฎหมายจะทำให้เราไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ อีกทั้งสามารถจัดการทรัพย์สินต่างๆ ของเจ้ามรดกได้
โดย..
 http://www.oknation.net/blog/markandtony/2010/09/24/entry-2

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

สิทธิที่ถูกละเมิด…เสียงเล็กๆ ที่ถูกลืม

เด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งเกิดจากการกระทำของพ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นสิ่งที่พบเห็นประจำตามหน้าหนังสือพิมพ์แทบจะทุกวัน...แล้วคุณเคยที่จะย้อนกลับไปมองไหมว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการละเมิดสิทธิของเด็กหรือไม่ ด้วยเหตุนี้เององค์การสหประชาติจึงได้บัญญัติหลักอนุปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กและเยาวชนขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต้องปฏิบัติร่วมกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
เด็กและเยาวชนไทยตกเป็นเหยื่อการกระทำของผู้ใหญ่แทบทุกประเภท ทั้งทางด้าน เพศ เทคโนโลยี หรือของมอมเมาที่มาในรูปแบบโฆษณาแฝงต่างๆ จึงกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องที่ทำให้เด็กหันมาทำร้ายกันเอง ในขณะที่มาตราการควบคุมปัญหาที่ต้นเหตุนั้น หน่วยงานเกี่ยวข้องกลับมีน้อยมาก หรือไม่มีเลย เพราะถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ เลยไม่มีใครคำนึงถึง จึงได้เกิดปัญหามากมายเช่นทุกวันนี้ !!!
“เพราะเด็กอายุประมาณ 12-13 ปี ถือเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะการพัฒนาสมองส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่คิดวางแผน ใช้เหตุผล ใคร่ครวญไตร่ตรองยับยั้งตนเอง เมื่อเป็นเช่นนี้เด็กจึงต้องมีความคิดเป็นของตนเอง ต้องตัดสิน วินิจฉัยปัญห า โดยมีผู้ใหญ่คอยเสนอแนะให้ความเห็นหรือให้ข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ ประกอบการวินิจฉัยของเด็กด้วยเหตุและผล” ต่อไปอนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร คำตอบนั้นย่อมอยู่ที่ความรับผิดชอบของสังคมและคนรอบข้าง แน่นอนว่าการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ดีกว่าการปล่อยให้เกิดปัญหาแล้วจึงแก้ไข แต่หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเอาจริงเอาจังออกมาใช้ รวมทั้ง องค์กรต่างๆ ต้องออกมาช่วยรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา การมีมาตรการเฝ้าระวังที่เข้มแข็งน่าจะช่วยป้องกันปัญหาในระยะยาวได้อย่างแน่นอน ที่มา http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/12324

การละเมิดสิทธิเด็กและการคุ้มครองของรัฐ1

http://www.youtube.com/watch?v=BtmAEHeGaHA

ศัทพ์กฎหมายน่ารู้

A legal binding = ข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย Unilateral contract = สัญญาฝ่ายเดียว Bilateral/Mutual/Reciprocal contract = สัญญาต่างตอบแทน Multilateral = สัญญาที่มีคู่สัญญาหลายฝ่าย Non-reciprocal contract = สัญญาที่ไม่ต่างตอบแทน Void(able) contract = สัญญาที่เป็นโมฆียะ Offeree = ผู้ทำคำสนอง An offer and an acceptance are met consensually = ให้ความยินยอม A minor (infant) person = ผู้เยาว์ Empowered = มีสิทธิ Make an avoidance = ขอกลับ Ratification = การให้สัตยาบัน Inoperable from its inception = ไม่มีผลย้อนหลังโดยใช้หลักลาภมิควรได้ Major/sui juris personperson = ผู้บรรลุนิติภาวะ Principal = ตัวการ Undue enrichment = ตามหลักลาภมิควรได้ Upon the request of the interested person = ตามคำเรียกร้องของบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย Ascendant = บุพการี Public prosecutor = พนักงานอัยการ Is called = ตกเป็น…. Custody = อยู่ในความดูแล Contrary = ขัดต่อกฎหมาย Embezzlement = การยักยอกทรัพย์ Civilly as libel/written defamation = ความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการเขียน Infringement of copyright/patent/trademark = การละเมิดลิขสิทธิ์ Call for damages/ indemnity = เรียกร้องสินไหมทดแทน Usurious = การห้ามเรียกร้องดอกเบี้ยเกินอัตรา Stipulate = กำหนด บัญญัติ ระบุเอาไว้ Earnest = มัดจำ Default = ผิดสัญญา Initiate/commence/establish = มีผลบังคับ Death penalty = โทษประหารชีวิต Obligation = หนี้ Loan for consumption = ยืมใช้สิ้นเปลือง Loan for use = ยืมใช้คงรูป Same kind/fungible thing = ใช้แทนกันได้ Remuneration = บำเหน็จ/สินจ้าง Gratuitous/naked deposit = สัญญาฝากทรัพย์แบบไม่มีบำเหน็จ Delict/tortious actions = ละเมิด Several liability = รับผิดร่วมกัน Personally liable = รับผิดส่วนตัว Engages = ว่าจ้าง attorney-in-fact/proxy = ตัวแทน Implied authority = ปริยาย Power of attorney = หนังสือมอบอำนาจ Disclosed principal = ตัวการเปิดเผยชื่อ Undisclosed principal = ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ Apparent/ostensible agent = ตัวแทนเชิด Estopped for liability = ถูกปิดปากในกฎหมายให้รับผิด Bona fide buyer = บุคคลที่ 3 ที่ทำการโดยสุจริต ที่มา http://inter.thepbodint.ac.th/topmenu.php?c=listknowledge&q_id=201